Monday, August 22, 2011

เรียนดอกเตอร์ที่อังกฤษ เหมือนหรือต่างจากที่อื่นอย่างไร

ได้ลองเล่าคร่าวๆ เกี่ยวกับปัจจัยในการเลือกที่เรียน และลองพูดคร่าวๆ เกี่ยวกับความแตกต่างของการเรียนปริญญาเอกในอังกฤษและอเมริกา แต่เพื่อให้มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจที่ชัดเจน (หรืออาจทำให้คลุมเครือมากขึ้น) เลยลองเอาข้อมูลจากหนังสือ The Doctorate Worldwide ซึ่งมี Stuart Powell and Howard Green เป็นบรรณาธิการ (ISBN: 9780335220205 Division: Open University Press Pub Date: JUN-07 Pages: 224)

ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงสำรวจการเรียนปริญญาเอกในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะในยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย และครอบคลุมถึงบางประเทศที่ผู้วิจัยเรียกว่ากลุ่มประเทศที่มีศักยภาพ ได้แก่ บราซิล จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เม็กซิโก  แอฟริกาใต้ และประเทศไทยด้วย

ข้อควรระวัง ในการนำข้อมูลนี้ไปประกอบการตัดสินใจ เพราะการเรียนปริญญาเอกในแต่ละสาขา มี่ความแตกต่ากกันมาก การนำข้อมูลโดยภาพรวมมาตัดสินในการเลือกเรียนในประเทศต่างๆ นั้น คงทำได้ยาก ในขณะที่ผู้เขียนเชื่อว่า การเรียนปริญญาเอกในสาขาใดสาขาหนึ่งน่าจะมีความใกล้เคียง และเหมาะสม และควรนำมาพิจารณาเปรียบเทียบกันโดยตรงมากกว่า ซึ่งจะมาเล่าในครั้งต่อไป หนังสือเล่มนี้คงทำให้เห็นความต่างในภาพรวมที่ชัดเจน

 ในแง่ปริมาณ คงต้องยกให้ประเทศอเมริกา ซึ่งผลิตนักวิจัยในระดับปริญญาเอกถึงปีละกว่าสี่หมื่นคน (ประชากรราวร้อยละหนึ่ง จบปริญญาเอก)  ในขณะที่ยโรปทั้งทวีป ผลิตได้ราว เจ็ดหมื่นคน ซึ่งครึ่งหนึ่งเป็นอังกฤษและเยอรมนีรวมกัน ในขณะที่ ยักษ์ใหญ่เอเชียได้ แก่ จีน อินเดีย ญีปุ่น เคอร์จิกีสถาน เกาหลีใต้ และไต้หวัน ผลิตได้มากกว่าอเมริกาเพียงเล็กน้อย เมื่อผลิตมาก ก็มีความหลากหลาย และมีทางเลือกมากมาย มีแทบทุกสาขาวิชาและความสนใจที่จะนึกได้ ดังนั้นส่วนหนึ่งที่คนตัดสินใจไปเรียนที่อเมริกา ก็ด้วยเหตุนี้ ในขณะที่ประเทศไทย มีคนจบการศึกษาปริญญาเอกราวปีละหนึ่งพันราย และบางสาขาและความสนใจ ก็ไม่มีที่ใดเปิดสอนหรือมีโอกาสให้ทำวิจัย จึงไม่แปลกที่ผู้คนที่ต้องการการศึกษาที่ดีต่างพากัน มุ่งหน้าไปศึกษายังสหรัฐอเมริกา

สำหรับตัวเลขจำนวนนักเรียนในระดับปริญญาเอกในแต่ละประเทศมีดังนี้

ฟินแลนด์ 22105 (postgraduate level ทั้งหมดเนื่องจากบางคนอาจเลือกอนุมัติบัตรแทนปริญญาเอก)
เดนมาร์ก 4815
ฝรั่งเศส 70000 โดยประมาณ
เยอรมนี ไม่ทราบจำนวนเพราะศาสตราจารย์สามารถรับนักเรียนโดยไม่ลงทะเบียนในระบบ แต่มีคนจบปีละประมาณ 23000 คน
เนเธอร์แลนด์ 7443 คน
โปแลนด์ 33040 คน
สหราชอาณาจักร 111990 คน
ออสเตรเลีย 37511 คน
แคนาดา 32006 คน
สหรัฐอเมริกา 837640 คน
บราซิล 38948 คน
จีน 165600 คน
อินเดีย 65491 คน
ญี่ปุ่น 74907 คน
เม็กซิโก 10825 คน
แอฟริกาใต้ 8112 คน
ไทย 10516 คน

ดังนั้นทางเลือกที่สองของคนไทยที่จะสนใจจะเรียนระดับสูง ก็ไม่แปลกที่จะเป็นอังกฤษ ซึ่งมีนักเรียนอยู่ถึงหนึ่งแสนกว่าคน ในขณะที่จีน และญี่ปุ่น อาจจะมีข้อจำกัดในเรื่องของภาษา ทำให้ไม่ได้รับความนิยมนัก แต่ในปัจจุบัน ข้อจำกัดนี้ ก็ไม่ได้เป็นเรื่องจำกัดอีก เมื่อเรานึกถึงคุณภาพงานวิจัยซึ่งญี่ปุ่น ไม่น้อยหน้ากว่าใคร และจีนก็ก้าวหน้าขึ้นมาทัดเทียมหรืออาจจะแซงหน้าโลกตะวันตกในไม่ช้า มีคนที่ผู้เขียนรู้จักหลายคนก็ไปศึกษาปริญญาเอกในประเทศญี่ปุ่น แต่อาจจะมีปัจจัยอื่นๆ อีก เช่นเรื่องทุน ความชอบประเทศเป็นการส่วนตัว แต่ประเด็นสำคัญที่สุดคือต้นทุนทางภาษาซึ่งคงจะมาหาเอาแค่ตอนจะไปเรียนไม่ได้ ผมจึงย้ำอีกสักครั้งหนึ่ง ว่าภาษาเป็นเครื่องมือสำคัญที่สุด และยิ่งมีต้นทุนมาก ก็มีโอกาส และช่องทางมากขึ้น ถ้าเรารู้แค่ภาษาอังกฤษ แม้จะเป็นภาษาที่ใช้กันเป็นทางการมากที่สุด แต่การไปเลือกกเรียนในประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษ เป็นภาษาแรก การไม่รู้ภาษาอื่น คงทำให้อยู่ได้ด้วยความยากลำบาก

No comments:

Post a Comment